ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา มูลนิธิกระจกเงา

พัฒนาการศึกษา สู่ทักษะชีวิตที่ยั่งยืนอย่างมีความสุข
นางสาวอัสรีนา  เจ๊ะเง๊าะ (ครูนีน่า)

การเติบโตของฉันตลอดการฝึกงาน

       ครั้งแรกที่ได้ยินเสียงนักเรียนเรียกว่า “คุณครู” วินาทีที่ดวงตานับสิบจับจ้องมาที่ตัวเรา หัวเราะ ยิ้มให้ หรือแม้กระทั่งไม่สนใจใยดี ฯลฯ สารพัดที่พบเจอ...

       การเริ่มต้นฝึกสอนในครั้งแรกของชีวิต ฉันได้ตัดสินใจที่จะไปฝึก ณ ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา มูลนิธิกระจกเงา สํานักงานฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนนานาชาติแห่งนี้ เนื่องจากมีนักเรียนหลากหลาย เชื้อชาติ จากหลายภูมิลําเนา ทั้งน้อง ๆ ชาวไทย น้อง ๆ ชาวไทใหญ่ ซึ่งถือชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ และน้อง ๆ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ติดตามคุณพ่อ และคุณแม่ ซึ่งมาทํางานในไร่ส้ม ซึ่งฉันคิดว่าต้องได้สอนหนังสือ ให้แก่เด็กนักเรียนเหล่านี้อย่างแน่นอน

       เปิดเทอมวันแรก กับการเริ่มต้นฝึกสอนในครั้งแรกของชีวิต ได้รับการต้อนรับจากคุณครู บุคลากร เป็นผู้ชี้แนะและให้คําปรึกษาในด้านการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สังคม และความเป็นอยู่ของที่นี่ ได้ทําหน้าที่ครู สอนหนังสือเด็ก ๆ ควบคู่กับทําหน้าที่ผู้พิพากษา ตัดสินคดีในชั้นเรียน ว่าคนนั้นแกล้งผม คนนี้ตีหนู แต่แล้วต่างก็สามารถจัดการปัญหาน้อยใหญ่ได้ โดยไม่ต้องพึ่งตําราวิชาการ เพราะฉันมีสิ่งที่สะสม สั่งสม นั่นคือ “ประสบการณ์”

         ตลอดระยะเวลาสี่เดือนกว่า กับการเพิ่มประสบการณ์ชีวิต เป็นมากกว่าการฝึกงาน คือการได้ทํางานจริง ๆ ภายในองค์กร การทํางานควบคู่กันในหลาย ๆ ด้าน และหลาย ๆ งานร่วมกัน การกล้าตัดสินใจในบางงานเพื่อ จะได้ไปต่อในอีกงานที่ใหญ่กว่า เป็นการทํางานหินมาก และสร้างความกดดันต่อตัวเองอย่างไม่น้อย แต่พี่ ๆ ครู หรือแม้กระทั่งองค์กรก็ยังเชื่อใจและไว้ใจให้ลงมือทํา เป็นการทํางานที่ท้าทายมาก แต่ผลผลิตก็เป็นที่น่าภูมิใจ อย่างมากเช่นกัน ดีใจและภูมิใจที่ตัวเองสามารถทํางานให้กับองค์กรได้อย่างจริง ๆ

สุดท้ายนี้ขอบคุณพี่ ๆ ครูทุกคน ที่คอยพรำ่สอนการทํางาน ความรับผิดชอบในหน้าที่ คอยดูแลเป็นอย่างดี สร้างพื้นที่ความทรงจําที่มิอาจลืมและขอบคุณที่ทําให้รู้จักการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต

        “สิ่งใดบอกได้ ให้บอกอย่างหมดเปลือก สิ่งใดสอนได้ ให้สอนอย่างเปิดใจ สิ่งใดตําหนิได้ ให้ตําหนิด้วยความรัก”

 

นางสาวอัสรีนา  เจ๊ะเง๊าะ (ครูนีน่า)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา